ชนิดของวิธีการสร้างภาพ CG

2. ชนิดของการสร้างภาพกราฟิก (ฺType of Graphic picture)

       2.1 กราฟิกแบบบิตแมพ (ฺBit Mapped)  คือ  กราฟิกที่มีลักษณะเป็นช่องๆ เหมือนกับตาราง และแต่ละช่องคือบิต ในทุกๆช่องจะมีค่าปิดและเปิดของตัวเอง ถ้าค่าสถานะของช่องเท่ากับ 1 คือ เปิด และถ้าค่าของช่องเท่ากับ 0 คือ ปิด ถ้าเรานำช่องของแต่ละช่องที่มีค่าสถานะต่างกันมารวมกัน เราจะสามารถสร้างภาพจากจุดขาวดำที่เกิดขึ้นจากช่องเปิดและช่องปิดได้ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานของภาพกราฟิกชนิดนี้ได้แก่ พิกเซล (Pixel), อสเป็กเรโซของภาพ (Image Aspect Ratio) และรีโซลูชัน (Resolution) 
            2.1.1 พิกเซล (Pixel) คือ บล็อกแต่ละบล็อกในภาพ หรือเรียกได้ว่าเป็นองค์ประกอบย่อยๆ ในภาพหนึ่งภาพ
            2.1.2 อสเป็กเรโซของภาพ (Image Aspect Ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างจำนวนพิกเซลทาง    แนวขวาง และแนวดิ่งที่ใช้ในการสร้างภาพ เราจะรู้จักในตัวอย่างเช่น ภาพนี้มีขนาด 800 pixel * 600 pixel เป็นต้น
            2.1.3 รีโซลูชัน (Resolution)  คือ เรามักจะเห็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงกราฟิกจะแสดงโชว์ค่าหนึ่งที่ เรียกว่า ค่ารีโซลูชัน ค่านี้จะระบุ เป็นจำนวนพิกเซลในแนวนอนคือแนวแกน X และจำนวนพิกเซลในแนวตั้งคือแนวแกน Y ยกตัวอย่างเช่น 1080*512 หมายความว่า อุปกรณ์นี้สามารถแสดงพิเซลในแนวนอนได้ไม่เกิน 1080 pixel และแนวตั้งไม่เกิน 512 pixel 

ตัวอย่างรูปแบบของ Bit Mapped
ขอบคุณรูปภาพจาก https://goo.gl/images/1w37k4

ตัวอย่างรูปแบบของ Bit Mapped 
ขอบคุณรูปภาพจาก https://goo.gl/images/tQXo2m


       2.2 กราฟิกแบบเวกเตอร์ (ฺVector)  คือ ภาพกราฟิกที่สร้างจากสมการทางคณิตศาสตร์ เช่น วงกลม เส้นตรง เส้นโค้ง เป็นต้น ซึ่งส่วนเหล่านี้เรียกว่า ออบเจกต์ (Object)
              2.2.1 ออบเจกต์ (Object) ในที่นี้คือ เส้นตรง วงกลม ทรงกลม และอื่นๆ ที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต เมื่อเรานำแต่ละรูปทรงมาประกอบรวมกันก็สามารถเป็นรูปภาพได้

ตัวอย่างรูปภาพแบบเวกเตอร์
ขอบคุณรูปภาพจาก https://goo.gl/images/Mtqy7g




ตัวอย่างรูปภาพแบบเวกเตอร์
ขอบคุณรูปภาพจาก https://goo.gl/images/wkfFpw











ขอขอบคุณเนื้อหา อ้างอิงจาก

ชนิดของการสร้างภาพกราฟิก :
https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/computer_graphic/01.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น