วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พื้นฐานที่ควรรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก CG



Introduction about CG (Computer Graphic) 

          CG (Computer Graphic) คำนี้หลายๆคนคงคุ้นเคย และได้ยินเกี่ยวกับกราฟิกอันเวอร์วังอลังการในสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โฆษณาทีวี เอฟเฟกต์ประกอบภาพยนตร์ เกมส์ และอื่นๆ ที่ทำให้สื่อเหล่านั้นดูมีชีวิต ดูน่าตื่นเต้น และยังสวยงามน่าชม น่าเล่นมากยิ่งขึ้น เพราะ CG เป็นส่วนสำคัญที่จะดึงดูดผู้คนให้มาสนใจกับสื่อเหล่านั้น ยิ่งกับยุคสมัยนี้แล้ว การออกแบบ CG นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านความสวยงาม ความสมจริง และที่สำคัญมันสามารถทำในสิ่งที่เราจินตนาการอยากจะให้เป็นได้ หรือสิ่งที่เกินความเป็นจริงได้ เพราะฉนั้นความสำคัญของมันอยู่ตรงที่สร้างความตื่นเต้น และแปลกใหม่ให้กับทุกๆคน พอถึงตรงนี้แล้วทุกคนคิดว่ายังไงครับ อาจจะยังไม่เห็นภาพเดี่ยวยกตัวอย่างให้ดู

ตัวอย่างภาพกราฟิก
ขอบคุณภาพจาก https://goo.gl/images/AggNAR และ https://goo.gl/images/Lmazjh

           ฮ่าๆนี่ตัวอย่างขำๆ ที่พอจะให้นึกภาพออกนะครับ ฮั่นแหนะ! เริ่มสนใจอยากรู้มากขึ้นใช่ไหมหล่า ถ้าอยากรู้ก็เลือกหน้าตามที่ต้องการอ่านเลยครับ จะเล่าให้ฟังนะครับ ซึ่งในบล็อกนี้ผมจะอธิบายคร่าวๆ เกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญๆ ก่อนทำภาพกราฟิก ได้แก่ ความหมายของ CG (Computer Graphic), ชนิดของการสร้างภาพกราฟิก และ ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานกราฟิก


1. ความหมายของ CG (Computer Graphic)

         CG (Computer Graphic) หรืออีกชื่อหนึ่งที่เรียกว่า "เรขภาพคอมพิวเตอร์" คือ การออกแบบ การสร้าง การจัดการและประมวลของภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวช่วย อาจจะแปลได้ง่ายๆ ว่าเราสามารถนำชนิดข้อมูลที่อาจจะเป็น ตัวเลข ตัวอักษร สมการทางคณิตศาสตร์ หรือสัญลักษณ์ต่างๆ มาประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะให้แสดงผลออกมาบนจอภาพเป็นข้อมูลเชิงเรขาคณิต ได้แก่ รูปร่าง รูปทรง ลายเส้น สีสัน แสงเงา และอื่นๆ ที่ใช้ประกอบเป็นภาพนั้นเอง และรวมถึงข้อมูลอื่นๆ เช่น ข้อมูลการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลง และลักษณะการเชื่อมต่อที่มีความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ (Object)  ในภาพ





ซึ่งมีวิธีของการสร้างภาพกราฟิกอยู่ 2 แบบ ได้แก่ การฟิกแบบบิตแมพ (ฺBit Mapped) และแบบเวกเตอร์ (Vector)


2. ชนิดของการสร้างภาพกราฟิก (ฺType of Graphic picture)

       2.1 กราฟิกแบบบิตแมพ (ฺBit Mapped)  คือ  กราฟิกที่มีลักษณะเป็นช่องๆ เหมือนกับตาราง และแต่ละช่องคือบิต ในทุกๆช่องจะมีค่าปิดและเปิดของตัวเอง ถ้าค่าสถานะของช่องเท่ากับ 1 คือ เปิด และถ้าค่าของช่องเท่ากับ 0 คือ ปิด ถ้าเรานำช่องของแต่ละช่องที่มีค่าสถานะต่างกันมารวมกัน เราจะสามารถสร้างภาพจากจุดขาวดำที่เกิดขึ้นจากช่องเปิดและช่องปิดได้ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานของภาพกราฟิกชนิดนี้ได้แก่ พิกเซล (Pixel), อสเป็กเรโซของภาพ (Image Aspect Ratio) และรีโซลูชัน (Resolution) 
            2.1.1 พิกเซล (Pixel) คือ บล็อกแต่ละบล็อกในภาพ หรือเรียกได้ว่าเป็นองค์ประกอบย่อยๆ ในภาพหนึ่งภาพ
            2.1.2 อสเป็กเรโซของภาพ (Image Aspect Ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างจำนวนพิกเซลทาง    แนวขวาง และแนวดิ่งที่ใช้ในการสร้างภาพ เราจะรู้จักในตัวอย่างเช่น ภาพนี้มีขนาด 800 pixel * 600 pixel เป็นต้น
            2.1.3 รีโซลูชัน (Resolution)  คือ เรามักจะเห็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงกราฟิกจะแสดงโชว์ค่าหนึ่งที่ เรียกว่า ค่ารีโซลูชัน ค่านี้จะระบุ เป็นจำนวนพิกเซลในแนวนอนคือแนวแกน X และจำนวนพิกเซลในแนวตั้งคือแนวแกน Y ยกตัวอย่างเช่น 1080*512 หมายความว่า อุปกรณ์นี้สามารถแสดงพิเซลในแนวนอนได้ไม่เกิน 1080 pixel และแนวตั้งไม่เกิน 512 pixel 

ตัวอย่างรูปแบบของ Bit Mapped
ขอบคุณรูปภาพจาก https://goo.gl/images/1w37k4

ตัวอย่างรูปแบบของ Bit Mapped 
ขอบคุณรูปภาพจาก https://goo.gl/images/tQXo2m


       2.2 กราฟิกแบบเวกเตอร์ (ฺVector)  คือ ภาพกราฟิกที่สร้างจากสมการทางคณิตศาสตร์ เช่น วงกลม เส้นตรง เส้นโค้ง เป็นต้น ซึ่งส่วนเหล่านี้เรียกว่า ออบเจกต์ (Object)
              2.2.1 ออบเจกต์ (Object) ในที่นี้คือ เส้นตรง วงกลม ทรงกลม และอื่นๆ ที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต เมื่อเรานำแต่ละรูปทรงมาประกอบรวมกันก็สามารถเป็นรูปภาพได้

ตัวอย่างรูปภาพแบบเวกเตอร์
ขอบคุณรูปภาพจาก https://goo.gl/images/Mtqy7g




ตัวอย่างรูปภาพแบบเวกเตอร์
ขอบคุณรูปภาพจาก https://goo.gl/images/wkfFpw



3. ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานกราฟิก

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานด้านกราฟิก แบ่งได้ออกเป็น 2 แบบ
        3.1 โปรแกรมสำเร็จรูป เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นจากผู้เชียวชาญทางด้านกราฟิกหรือบริษัทที่ทำงานด้านนี้โดยตรง เช่น  โปรแกรม Paint, Adobe Photoshop, Adobe illustrator, Adobe Flash Player และโปรแกรมอื่นๆ เป็นต้น

        3.2 โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ โดยใช้คำสั่งและหลักการของภาษานั้นๆ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ดำเนินการ และประมวลผลแสดงกราฟิกไปตามคำสั่งของผู้ใช้ อย่างเช่นใช้ ภาษาจาวา ภาษาเบสิก ภาษาฟอร์แทน ภาษาปาสคาล และภาษาอื่นๆ เป็นต้น


สุดท้ายนี้ เนื้อหาทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื่องต้น เพื่อให้ความรู้พื้นฐานทางด้าน CG (Computer Graphic) เท่านั้น หากใครที่อยากมีความชำนาญและเชี่ยวชาญทางด้าน CG คงต้องหมั่นฝึกฝนอยู่บ่อยๆนะครับ ผมหวังว่าทุกคนที่เข้ามาอ่านและศึกษา จะได้รับความรู้และเกิดความใช้ใจได้โดยง่าย หากเนื้อหาผิดพลาดประการใดผมก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ถ้าสนใจที่จะศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติม ผมได้แนบลิงค์ไว้ที่ด้านล่างให้แล้วครับ ขอบคุณครับ













ขอขอบคุณเนื้อหา อ้างอิงจาก
1. ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานกราฟิก : http://www.mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/31-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B/4098-computer-graphics.html

2. ชนิดของการสร้างภาพกราฟิก :

https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/computer_graphic/01.html